วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

สาเหตุที่ต้องเจียรจานเบรครถยนต์


ทำไมต้องเจียรจานเบรค

เนื่องจากจานเบรคเมื่อใช้ไปจนผ้าเบรคหมดอายุหรือใช้ไปเป็นระยะเวลานานแล้ว ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการใช้งานและสภาพอากาศต่าง ๆ
การเจียรจานเบรคจะทำเพื่อขจัดคราบผ้าเบรคเก่า หรือ ลบรอยที่ขรุขระต่างๆออกเพื่อปรับผิวจานเบรคให้เรียบเพื่อให้ผ้าเบรคกับจานเบรคประกบกันสนิทก่อนนำใช้งาน

ทำไมต้องเจียรจานเบรค
ภาพแสดง ก่อน และ หลัง การเจียรจานเบรค

ส่วนชนิดของเครื่องเจียรจานเบรค ก็แบ่งเป็น 2 ชนิด 


credit : AUTO PRO-UP

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

วิธีเตรียมพื้นสำหรับติดตั้งลิฟท์ยกรถ

  • พื้นที่โดยรวมทั้งหมด กว้าง 4 เมตร x ยาว 6 เมตร x สูง 4 เมตร เป็นพื้นที่ทำงานเหมาะสม
  • พื้นที่สำหรับติดตั้งลิฟท์ต้องมีความหนาของคอนกรีตไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
  • หากพื้นที่ติดตั้งมีความหนาน้อยกว่าที่กำหนด ให้ทำการขุดหลุมให้มีหน้ากว้าง 100 x 100 เซนติเมตร และลึกลงไปประมาณ 3เซนติเมตร หรือ มากกว่า
  • ให้จุดกึ่งกลางของทั้งสองหลุมมีระยะห่างประมาณ 3 เมตร (รวมระยะหลุมซ้าย-ขวาสุด เท่ากับ 4 เมตร)
  • ทำการเทพื้นด้วยคอนกรีตที่มีมาตรฐานและทิ้งไว้ก่อนติดตั้งประมาณ 1 สัปดาห์
เตรียมพื้นติดตั้งลิฟท์ยกรถ



  • เบรกเกอร์ขนาด 20 แอมป์
  • สำหรับไฟ 220 Volt ให้ใช้สายไฟขนาด  2.5x2/1.5 SQ.mm
  • สำหรับไฟ 380 Volt ให้ใช้สายไฟขนาด  2.5x3 SQ.mm
*** หมายเหตุ: สายไฟและเบรกเกอร์ ควรเดินมาที่ตำแหน่งที่ต้องการจะติดตั้ง ***


วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ข้อดีของการเติมลมไนโตรเจน

ลมไนโตรเจนคืออะไร 

ไนโตรเจน ก็คือ ลมธรรมดาที่อยู่ในอ๊อกซิเจน เพียงแต่ใช้เครื่องกรองอ๊อกซิเจน ให้เหลือเพียง ไนโตรเจนมาใช้งานเพียงเท่านั้น ซึ่งในต่างประเทศ ได้ออกกฎหมายให้รถโดยสารและรถบรรทุกต้องเติมไนโตรเจน และเครื่องบินทุกลำต้องเติมลมยางด้วยไนโตรเจนเท่านั้น 

ข้อดีของลมไนโตรเจน 

1.ลดการระเบิดของยาง เนื่องจากไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อย ซึ่งเกิดความร้อนสะสมน้อย แรงดันภายในยางเปลี่ยนแปลงไม่มาก 
2.ลดเสียงดังและลดการสั่นสะเทือน เพราะก๊าซไนโตรเจนเคลื่อนที่ช้า ยางก็จะยืดหยุ่นตัวช้าลง ทำให้การขับขี่นุ่มนวลขึ้น
3.ยืดอายุยาง ช่วยให้ยางสึกหรอน้อยลง (ออกซิเจนจะทำปฏิกิริยากับเคมีทำให้เนื้อยางเสื่อมสภาพเร็ว)
4.ไม่ต้องเสียเวลาเติมลมบ่อยๆ เพราะว่าก๊าซไนโตรเจนรั่วซึมได้ช้ากว่าลมธรรมดาถึง 3 เท่า


 

เติมลมไนโตรเจน ผสม ลมธรรมดาได้มั้ย

สามารถเติมลมธรรมดาเข้าไปได้ เพียงแต่เมื่อลมธรรมดา (มีอ๊อกซิเจน) ก็จะรวมตัวกับ ไนโตรเจนเดิมที่มีอยู่ ก็จะกลายเป็นลมปกติ ซึ่งเท่ากับว่าไม่ได้แตกต่างจากเดิมเลย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้มีผลเสียร้ายแรงใดๆตามมาแต่อย่างใดครับ หากแต่ถ้าต้องการให้เป็นไนโตรเจนเหมือนเดิม ก็ต้องถ่ายของเก่าทิ้งก่อนนั่นเอง


เครื่องเติมลมไนโตรเจน


เครื่องเติมลมไนโตรเจน

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ชนิดของปั๊มลมและวิธีการเลือกใช้ปั๊มลม

ปั๊มลม หรือ เครื่องอัดลม (Air Compressor)

เครื่องมืออุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับศูนย์บริการรถยนต์ อู่ซ่อมรถ โรงงานอุตสาหกรรม หรือ แม้แต่ร้านซ่อมจักรยาน ขนาดของปั๊มลม และ การจัดการระบบลมจะแตกต่างกันไป รวมถึงลักษณะของงานที่ทำอยู่ด้วย

ส่วนเครื่องมือที่ต้องใช้ควบคู่ไปกับปั๊มลม ก็ได้แก่ ปืนลม,ส่วานลม,ไขควงลม,บล๊อกลม,เครื่องยิงตะปู,ถังฉีดโฟม,เครื่องขัดสี,กาพ่นสี หรือแม้แต่เครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรม เราจึงต้องเลือกใช้ปั๊มลมให้เหมาะสมกับงาน
 

ชนิดของเครื่องอัดลม
1.ปั๊มลมแบบลูกสูบ (Piston Compressor) สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 2 ชนิด
1.1 ปั๊มลมลูกสูบอัดชั้นเดียว (Single Stage) ปั๊มลมแบบนี้จะทำหน้าที่ดูดและอัดอากาศ แล้วส่งออกไปใช้งานหรือเข้าถังเก็บ ซึ่งสามารถสร้างแรงดันใช้งานอยู่ในช่วง 7-10 บาร์ หรือ 101-145 psi

ปั๊มลมชนิดนี้ เหมาะสำหรับ การใช้งานกับเครื่องมือลมปกติ หรือ ใช้เติมลมยางรถยนต์ทั่วไป รวมทั้งใช้ในร้านคาร์แคร์อีกด้วย เพราะโดยทั่วไปเครื่องมือที่ใช้ จะมีความต้องการแรงดันไม่เกิน 5-6 บาร์ อยู่แล้ว

ปั๊มลมซิงเกิ้ลสเตจ แบบทั่วไป


1.2 ปั๊มลมลูกสูบอัดสองชั้น (Two Stage) ปั๊มลมลูกสูบชนิดนี้ จะทำงานโดยให้ลูกสูบแรกอัดอากาศความดันต่ำผ่านท่อระบายความร้อน ลูกสูบที่สองก็จะทำการอัดอากาศให้มีความดันสูงอีกครั้ง เพื่อให้ได้แรงดันมากกว่า 10 บาร์ขึ้นไปประมาณ 12-16 บาร์ หรือ 174-220 psi


จุดสังเกตุ ปั๊มลมทูสเตจ หรือ ปั๊มลมไฮเพรชเชอร์ แรงดัน 12-15 บาร์

วิธีการเลือกใช้ปั๊มลม



หลักการง่ายๆในการเลือกใช้ปั๊มลมให้เหมาะสมกับงานที่ต้องใช้ คือ เลือกจากลักษณะของงานซ่อมรถยนต์สามารถแบ่งเป็นประเภทการทำงานได้ 3 ประเภทดังนี้

1.งานพ่นสีและตัวถัง

งานประเภทงาซ่อมสีและตัวถังจะใช้เครื่องมือที่ต้องใช้ลมในการทำงานเยอะกว่าประเภทอื่นๆ และในการใช้งานเครื่อง มือลมแต่ละครั้งจะใช้เป็นเวลานานจึงจำเป็นต้องใช้ลมในปริมาณที่มากพอสมควร รวมถึงต้องใช้พื้นที่ในการทำงานมากทำให้ขนาดของอู่หรือศูนย์บริการมีขนาด ใหญ่ การจัดการระบบลมจะต้องมีการคำนวณจากระยะพื้นที่และการใช้ปริมาณลมเพื่อใช้ในการเดินท่อลมและการเลือกขนาดของถังพักลม การเลือกขนาดของปั๊มลมในลักษณะงานประเภทนี้จะแบ่งเป็น 3 ขนาด

      -  อู่ขนาดเล็ก ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 3 แรงม้า ขนาดถัง 155 ลิตรขึ้นไปกระแสไฟมีทั้ง 220 Volt และ 380 Volt แล้วแต่ระบบไฟฟ้าที่มี ซึ่งแนะนำให้ใช้ 380 Volt

      -  อู่ขนาดกลาง ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 5 แรงม้า ขึ้นไปขนาดถัง 245 ลิตร ถ้ามีเครื่องมือซ่อม ขนาดใหญ่ หรือ ใช้งานพร้อมกันหลายจุด ควรเลือกขนาด 7.5 แรงม้าถัง 304 ลิตร กระแสไฟควรเป็น 380 Volt เนื่องจากหากจะใช้ไฟ 220 Volt ราคาของมอเตอร์จะมีราคาสูงกว่าปกติ

      -  อู่ขนาดใหญ่หรือศูนย์บริการ ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 10- 15 แรงม้า ถัง 300 - 500 ลิตร พร้อม ถังพักลม ขนาด 500-1000 ลิตร เนื่องจากมีการใช้งานลมอย่างต่อเนื่องครั้งละมากๆจึงควรเลือกขนาดนี้ เพื่อรักษาแรงดันในการใช้งานให้คงที่ตลอดเวลา

2.ช่วงล่างและยาง


งานประเภทช่วงล่างและยางจะมีเครื่องมือค่อนข้างเยอะ แต่เครื่องมือเหล่านี้จะต้องใช้ลมที่มีแรงดันสูงเช่นใช้กับ เครื่องถอดยาง ,บล็อกลม , เครื่องเติมลมยาง โดย เฉพาะศูนย์บริการที่ทำรถบรรทุกใหญ่ต้องใช้แรงดันลมที่มากพอสมควร แต่การทำงานของเครื่องมือแต่ละตัวจะใช้เวลาไม่มาก ปริมาณลมที่ใช้จะน้อยกว่าประเภทงานสี การเลือกขนาดของปั๊มลมในลักษณะงานประเภทนี้จะแบ่งเป็น 3 ขนาด

       -  อู่ขนาดเล็ก ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 3 แรงม้า ขนาดถัง 155 ลิตรขึ้นไปกระแสไฟมีทั้ง 220 Volt และ 380 Volt แล้วแต่กระแสไฟฟ้าของอู่

       -  อู่ขนาดกลาง ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 5 แรงม้า ขนาดถัง 245 ลิตรขึ้นไป ถ้ามีเครื่องที่ใช้ลม หลายตัว ควรเลือกถังขนาด 245 ลิตร กระแสไฟควรเป็น 380 Volt

       -   อู่ขนาดใหญ่หรือศูนย์บริการ ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 7.5-10  แรงม้า ขนาดถัง 300 - 500 ลิตรถ้ามีทำรถบรรทุกขนาดใหญ่ให้เพิ่มถังพักลมขนาด 500 ลิตร


3. ประเภทเครื่องยนต์และทั่วไป


งาน ประเภทซ่อมเครื่องยนต์และซ่อมทั้วไปจะมีการใช้เครื่องมือลมค่อนข้างน้อย เครื่องมือส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นประเภท HAND TOOLS และเครื่องมือพิเศษ ปริมาณการใช้ลมจึงน้อยกว่า 2 ประเภทแรก การเลือกขนาดของปั๊มลมในลักษณะงานประเภทนี้จะแบ่งเป็น 4 ขนาด

      -  อู่ขนาดเล็ก , ประดับยนต์  และคาร์แคร์ ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 2 แรงม้า ขนาดถัง 150 ลิตรกระแสไฟ 220 Volt 

      -  อู่ขนาดกลาง ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 5 แรงม้า ขึ้นไปขนาดถัง 245-300 ลิตร กระแสไฟเป็น 220 Volt และ 380 Volt แล้วแต่ระบบไฟฟ้าที่มี

      -  อู่ขนาดใหญ่ ให้เลือก ปั๊มลมขนาด 7.5 แรงม้า ขึ้นไป ถัง 300 ลิตร กระแสไฟฟ้าเป็น 380 Volt

      -  ศูนย์บริการรถยนต์ จะเลือกขนาดของปั๊มลมตามขนาดของศูนย์ขนาดตั้งแต่ 10 - 15 แรงม้าขนาด ถัง 500-1,000 ลิตรกระแสไฟฟ้า 380 Volt


หมายเหตุ : การเลือกขนาดของปั๊มลมดังกล่าวสามารถเพิ่มหรือลดได้ตามสภาพการใช้งานจริง

ลิฟท์ยกรถยี่ห้อไหนดี

ลิฟท์ยกรถ

 

ลิฟท์ยกรถ อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับศูนย์บริการรถยนต์และอู่ซ่อมรถทั่วไป ในปัจจุบันแนวโน้มของผู้ใช้รถใช้ถนนนับวันมีแต่จะสูงขึ้น จึงก่อให้เกิดกิจการห้างร้านศูนย์ซ่อมและบริการรถยนต์เยอะแยะมากมาย ในท้องตลาด ในบทความนี้ จะบอกเกี่ยวกับหลักการในการเลือกใช้ลิฟท์ยกรถให้เหมาะสม และ ชนิดของลิฟท์ยกรถมีดังนี้

1.ลิฟท์ยกรถ 2 เสา ลิฟท์ยอดนิยมที่ทุกศูนย์บริการหรืออู่รถยนต์ต้องมีไว้ใช้ มีอยู่ 2 ลักษณะย่อยคือ
  • ลิฟท์ยกรถ 2 เสาคานบน เหมาะสำหรับอู่ที่ซ่อมรถขนาดทั่วไป หลังคาไม่สูงมาก เพราะลิฟท์แบบคานบน มีข้อจำกัดเรื่องความสูงของตัวรถ หากใช้งานกับรถตู้ หรือ รถกระบะที่ติดตั้งหลังคาสูง จะไม่สามารถใช้ได้ แต่ข้อดีของลิฟท์ชนิดนี้คือ หากใช้งานกับรถที่ทำการโหลดเตี้ยหรือติดชุดแต่ง ก็จะไม่ติดใต้ท้องรถ อีกทั้งในบริเวณพื้นที่นั้นๆ ยังสามารถทำความสะอาดพื้นได้ เพราะไม่มีคานล่างที่ติดตั้งอยู่บนพื้น

  • ลิฟท์ยกรถ 2 เสาคานล่าง เหมาะสำหรับใช้งานกับรถที่หลังคาสูงโดยเฉพาะ ไม่มีข้อจำกัดสำหรับการใช้งาน แต่มีปัญหาสำหรับรถโหลดเตี้ย และ พื้นที่ติดตั้งคานล่าง ไม่สามารถทำความสะอาดได้นั่นเอง 

2.ลิฟท์ยกรถแบบกรรไกร ลิฟท์สำหรับงานซ่อมช่วงล่าง เป็นที่นิยมใช้ในศูนย์บริการทั่วไป ข้อดีคือมีโครงสร้างที่แข็งแรงและ รับน้ำหนักรถได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเวลาไม่ได้ใช้งาน ยังดูไม่เกะกะและกินพื้นที่น้อยกว่าแบบ 2 เสา ส่วนข้อเสียคือมีราคาแพงกว่าแบบ 2 เสาเท่านั้นเอง

3.ลิฟท์กรรไกรตั้งศูนย์ (สะพานตั้งศูนย์ล้อ) ลิฟท์ยกสำหรับงานตั้งศูนย์ล้อโดยเฉพาะ เพราะมีฟังก์ชั่นการทำงานไว้เพื่อปรับตั้งศูนย์ล้อและช่วงล่าง ให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งต้องใช้คู่กับ เครื่องตั้งศูนย์

 

เครื่องมือช่างซ่อมรถยนต์ คลิก!

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

เครื่องมืออุปกรณ์คาร์แคร์ที่สำคัญ

อุปกรณ์คาร์แคร์

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญ

1.เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง


หัวใจหลักของอุปกรณ์ที่ใช้ในร้านคาร์แคร์ ก่อนที่จะซื้อควรจะพิจารณาให้ดีก่อนว่า ร้านคาร์แคร์ที่เราจะเปิด ตั้งเป้าล้างรถไว้วันละกี่คัน/วัน หากตั้งไว้วันละไม่เกิน 10-15 คัน ก็ใช้เครื่องฉีดน้ำขนาด 3 แรงม้า ก็เพียงพอแล้ว หากแต่ว่าที่ร้านตั้งเป้าไว้มากกว่า 15 คันขึ้นไป ก็ควรจะพิจารณาเครื่องฉีดน้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ตั้งแต่ 5 แรงม้า จนถึง 10 แรงม้า



แต่สิ่งที่สำคัญอีกส่วนนึงก็คือเรื่องของไฟฟ้า ทางร้านควรเช็คให้ดีก่อนว่า ที่ร้านใช้ไฟได้แบบไหน เพราะมอเตอร์สำหรับเครื่องฉีดน้ำมีอยุ่ 2 แบบ คือ ไฟ 220 โวล์ท (ไฟบ้าน 2 สาย) และ ไฟ 380 โวล์ท (ไฟโรงงาน 3 สาย)

แนะนำง่ายๆว่า สำหรับเครื่องฉีดน้ำฯ ขนาด 3 แรงม้ายังเป็นขนาดที่ใช้ได้ทั้งไฟ 220 และ 380 อยู่ แต่สำหรับขนาด 5 แรงม้าขึ้นไปควรจะเป็นไฟ 380 โวล์ท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงขนาด 5 แรงม้า ก็สามารถใช้ไฟ 220 โวล์ทได้ เพียงแต่ราคาจะสูงกว่า 380 โวล์ทเท่านั้นเอง และที่สำคัญ มอเตอร์ 380 โวล์ทถูกกว่า อีกทั้งค่าไฟยังถูกลงอีกด้วย

*** หากสนใจเรื่องการขอไฟ 380 โวล์ท ลองเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ ***
หลักเกณฑ์การขอใช้ไฟใหม่,มิเตอร์ชั่วคราว,เพิ่มขนาด,โอนเปลี่ยนชื่อ

ส่วนเรื่องของแรงดันซึ่งดูเหมือนจะจำเป็น ซึ่งแรงดันก็มีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 100 - 200 บาร์ (สำหรับงานคาร์แคร์) แต่สุดท้าย แรงดันที่แนะนำสำหรับการใช้งานในร้านคาร์แคร์ก็คือประมาณ 100-130 บาร์ เพราะถ้าแรงดันสูงกว่านี้ และใช้ผิดประเภท อาจจะเกิดความเสียหายต่อรถลูกค้าได้

2ปั๊มลม

อุปกรณ์อีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ใช้สำหรับเป่าลมทำความสะอาด และ ต่อเข้ากับถังฉีดโฟม ในบางที่ใช้ในงานขัดเคลือบสีอีกด้วย



ปั๊มลม ก็มีให้เลือกใช้หลายขนาด ขนาดเล็กสุดที่แนะนำคือ 2 แรงม้า (สำหรับร้านที่ต้องการประหยัดงบ) แต่ถ้าให้เหมาะสมและใช้งานกันยาวๆเลยควรจะเป็นขนาด 3 แรงม้า ซึ่งเป็นขนาดเริ่มต้นสำหรับร้านคาร์แคร์เลยก็ว่าได้
ส่วนไฟฟ้าที่เลือกใช้ ก็ใช้หลักการเดียวกันกับในส่วนของเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงได้เลยครับ

3.เครื่องดูดฝุ่น-ดูดน้ำ

เครื่องดูดฝุ่นที่ใช้สำหรับร้านคาร์แคร์ จะไม่เหมือนกับเครื่องดูดฝุ่นที่เราใช้กันตามบ้าน เพราะว่าการใช้งานสำหรับร้านคาร์แคร์จะหนักกว่าการใช้งานที่บ้านครับ ส่วนหลักการในการเลือกเครื่องดูดฝุ่นมีดังนี้

1.ขนาดถังบรรจุเพียงพอต่อการใช้งานในต่อวันหรือไม่
2.ตัวถังมีความแข็งแรงทนทานในการใช้งานแบบหนักได้หรือไม่
3.สามารถดูดน้ำได้หรือเปล่า
4.สายดูดควรมีความยาวอย่างน้อย 3 เมตร โดยไม่สามารถลากสายดูดได้ทั่ว โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายเครื่องบ่อยครั้ง
5.มีล้อที่สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
6.มอเตอร์ควรจะมีมากกว่า 1 ตัว เพื่อแรงดูดที่ดีขึ้น และ เผื่อมอเตอร์เสีย 1 ตัวจะยังมีสำรองได้อีก 1 ตัว
เหล่านี้เป็นคุณสมบัติของเครื่องดูดฝุ่น ที่ควรนำมาใช้ในธุรกิจคาร์แคร์โดยเฉพาะ ซึ่งจะแตกต่างจากเครื่องดูดฝุ่นใช้ภายในบ้านโดยสิ้นเชิง ดังนั้นควรพิจารณาให้ดีก่อนสั่งซื้อนะครับ

4.ถังฉีดโฟม

สำหรับร้านคาร์แคร์ในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้นที่จะต้องใช้ถังฉีดโฟมในการล้างรถ เพราะสะดวกและประหยัดกว่าการใช้น้ำยาล้างรถเหมือนสมัยก่อน



สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกใช้ถังฉีดโฟมก็คือเรื่องของวัสดุของถัง ควรจะเป็นถังสแตนเลส มีให้เลือกกันหลายขนาด สำหรับขนาดทีใช้กันโดยทั่วไปคือ 65-70 ลิตร และที่สำคัญอย่าเลือกซื้อถังฉีดโฟมจากราคาเป็นหลัก เพราะควจจะดูถึงคุณภาพ เรื่องของรอยเชื่อมและวัสดุด้วย เพราะรายละเอียดเหล่านี้มีผลในเรื่องของราคา และ ความทนทานในการใช้งานในอนาคตครับ

และนี่ก็เป็นอุปกรณ์หลักๆในร้านคาร์แคร์ที่ขาดไม่ได้ ส่วนจะมีอุปกรณ์อื่นใดนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ข้างต้น จะไว้นำมาเขียนอธิบายให้อีกในฉบับต่อไป

เข้าชมสินค้าอุปกรณ์คาร์แคร์

หรือ ติดต่อ 09-8264-5154-5